คำสั่งภาษา HTML ที่ใช้จัดรูปแบบเอกสาร
แท็กคำสั่ง <br> (ขึ้นบรรทัดใหม่)
<br> คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่ (Line Break) โดยปกติเอกสาร HTML จะถูกแสดงบนหน้าเว็บเพจแบบต่อเนื่องไปจนสุดบรรทัดของหน้าต่างเว็บเบราว์เซอร์แล้วจึงขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งความยาวของแต่ละบรรทัดก็จะขึ้นอยู่กับขนาดและมุมมองของเบราว์เซอร์ (Browser) แต่ถ้าหากเราต้องการให้เว็บเบราว์เซอร์ตัดข้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ตามที่เราต้องการก็จะต้องใช้เท็กคำสั่ง <br> ใส่ ณ ตำแหน่งที่เราต้องการ และในการกำหนดคุณสมบัติแท็กคำสั่ง HTML ในรุ่นที่ 4 (HTML 4) แท็กคำสั่งที่เป็นแท็กเดี่่ยว เช่น <br> <hr> <img> <input> เป็นต้น จะมีใช้ในรูปแบบ <br /> ,<hr> , <img /> , <input /> แทนหรือ
แท็กคำสั่ง <p> (ขึ้นย่อหน้าใหม่ / พารากราฟใหม่)
การจัดข้อความขึ้นย่อหน้าใหม่ หรือการแบ่งข้อความให้มีลักษณะเป็นพารากราฟที่แยกจากกัน เพื่อให้เกิดความสวยงาม และการทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น โดยจะนำแท็กคำสั่งภาษา HTML คือ <p> มาใส่ที่จุดเริ่มต้นของย่อหน้าตามต้องการแท็กคำสั่ง <center> (กำหนดให้จัดกลางแนวนอน)
คำสั่งสำหรับการจัดข้อความให้อยู่กึ่งกลางบรรทัดในหน้าเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งคำสั่งนี้สามารถนำไปประยูกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบอื่น ๆ ได้อีกด้วย โดยจะส่งผลให้การแสดงผลส่วนที่อยู่ภายใต้คำสั่งนี้ ถูกจัดให้อยู่กึ่งกลางบรรทัด (หรือแนวนอน)แท็กคำสั่ง <pre> (จัดรูปแบบเอกสารตามต้นฉบับ)
สำหรับการจัดรูปแบบเอกสารตามที่กำหนด รูปแบบการแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์ จะมีลักษณะเดียวกับที่พิมพ์ในโปรแกรมเอดิเตอร์ที่ใช้สำหรับพิมพ์โค้ดคำสั่ง ทั้งในเรื่องการเว้นระยะ การขึ้นบรรทัดใหม่แท็กคำสั่ง <hr> (แสดงเส้นตรงแนวนอน)
เป็นการกำหนดให้แสดงเส้นตรงในแนวนอน เพื่อแบ่งพื้นที่การแสดงผลเอกสาร หรืออื่น ๆ ออกเป็นส่วน ๆ หรือใช้เพื่อการตกแต่งหน้าเว็บเพจได้ตามต้องการหรือ
แท็กคำสั่ง <ol> และ <li> (สร้างรายการแบบเรียงลำดับ)
สำหรับการพิมพ์หัวข้อเรื่อง หรือลำดับรายการ (list) แบบเรียงลำดับ การแสดงหัวข้อเรื่องโดยใช้ตัวเลข หรือตัวอักษรเป็นตัวกำหนดลำดับความสำคัญของหัวเรื่อง มักใช้กับการนำเสนอในลักษณะของลำดับหัวข้อเรื่อง หรือการแบ่งหัวข้อย่อย โดยแท็กคำสั่ง <li> จะต้องใช้ร่วมกันกับแท็กคำสั่ง <ol>แท็กคำสั่ง <ul> และ <li> (สร้างรายการแบบไม่เรียงลำดับ)
สำหรับการพิมพ์หัวข้อเรื่อง หรือลำดับรายงการ (list) แบบไม่มีลำดับ โดยการใช้เครื่องหมายแสดงด้านหน้าหัวข้อเรื่อง ที่ไม่ต้องการเลียงลำดับความสำคัญ หรือการแบ่งหัวข้อย่อย โดยแท็กคำสั่ง <li> จะต้องใช้ร่วมกันกับแท็กคำสั่ง <ul>แท็กคำสั่ง <marquee> (การแสดงผลแบบเคลื่อนที่)
คำสั่งสำหรับการกำหนดให้ข้อความ หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้คำสั่งนี้ มีการแสดงผลแบบเคลื่อนที่ โดยค่าหลักจะเคลื่อนที่จากด้านซ้าย ไป ขวา (ในมุมมองของจอภาพ) ซึ่งจะเคลื่อนไปจนสุดและหายข้าจอภาพไป แต่ถ้าหากต้องการการเคลื่อนที่ที่แตกต่างจากนี้จะต้องกำหนดคุณลักษณะเพิ่มเติม ซึ่งมีแอททริบิวส์ที่สามารถนำมาใช้งานได้อีก เช่น behavior (กำหนดลักษณะการเคลื่อนไหว) , director (กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหว) เป็นต้น